แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ของ ไมเคิล ไฮเซอร์

ไมเคิล ไฮเซอร์ เป็นศิลปินชาวอเมริกาที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ผลงานของเขาคือ ต้องการปฏิเสธศิลปะในเชิงธุรกิจการค้า เขาสนับสนุนกระแสทางด้านอนุรักษ์สภาพแวดล้อม มีแนวโน้มต่อต้านอารยธรรมเมือง และบ้างก็เป็นพวกที่มีความคิดในเชิงจิตวิญญาณ ศิลปะในกระแสแบบนี้ว่า ศิลปะสิ่งแวดล้อม หรือ เอ็นไวรอนเม็นทัล อาร์ต (Environmental art) แต่ชื่อที่เรียกติดปากติดกระแสมากกว่าคือ เอิร์ธ อาร์ต (Earth art )

ผลงานของ ไฮเซอร์มักจะมีลักษณะเด่นตรงที่เป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ ดูคล้ายงานโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ทำลงบนพื้นดิน หิน หญ้า หรือสิ่งที่ต้องใช้พื้นที่มากซึ้งบางครั้งงานก็มีความกลมกลืนกับธรรมชาติหรือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจนบางครั้งแยกไม่ออก ว่าเป็นมนุษย์สร้างขึ้นหรือธรรมชาติสร้างเอง เช่น งาน double negative โดยแนวคิดของ ไฮเซอร์คือ การกลับไปเป็นธรรมชาติ เพราะสิ่งที่ศิลปินสร้างขึ้นนั้นไม่มีประโยชน์ใดๆเลย ถึงทำไปก็กลับคืนสู่ธรรมชาติอยู่ดี ก็เหมือนมนุษย์ที่ลอกเลียนแบบธรรมชาตินั้นเอง

ไฮเซอร์มองว่าตัวเองเป็นศิลปินที่เป็นอิสระจากกลไกทางการตลาด ในนิตยสาร อาร์ตฟอรั่ม ศิลปินนำตัวอย่างจากผลงานชื่อ Displaced/Replaced Mass มาเป็นตัวอย่างในการสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของศิลปินที่มีต่อโลกศิลปะดังนี้ “สถานะของศิลปะได้ดำเนินมาถึงจุดอิ่มตัว พิพิธภัณฑ์ต่างๆแออัดไปด้วยผลงานคอลเลคชั่นต่างๆมากมายจนพื้นแทบจะทรุดอยู่แล้ว ทั้งๆที่พื้นที่ด้านนอกยังมีเหลืออยู่แท้ๆ” ผืนดินซึ่งเป็นที่ตั้งของผลงาน Displaced/Replaced Mass เปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาซื้อได้ ทว่าไม่สามารถซื้องานศิลปะชิ้นนี้ไปได้ ดังที่ศิลปินกล่าวว่า “มีขายเฉพาะที่ดินเท่านั้น งานศิลปะไม่เกี่ยว” ทั้งนี้ไฮเซอร์ได้วิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคมที่ก้มหัวให้กับงานศิลปะที่มีคุณประโยชน์ในแง่ของประโยชน์ใช้สอย หรูหรา หรือตอบสนองในด้านการประดับตกแต่งอย่างดุดัน และสถาบันศิลปะต้องมีส่วนรับผิดชอบกับปัญหาดังกล่าวไม่มากก็น้อย[6]

ทั้งการออกแบบและการฟื้นฟูสภาพทางนิเวศน์ล้วนเป็นภารกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของศิลปินในเรื่องพื้นที่ มวลและปริมาตรอีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสนใจในการทำงานกับพื้นดินโดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้หลังจากผลงานประติมากรรมนิเวศศิลป์ทั้งหมดสร้างเสร็จในเดือนตุลาคม 1985 และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1986 หน้าดินก็เริ่มถูกกัดเซาะอยู่เรื่อยๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การอนุรักษ์ดูแลผลงานตกเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐอิลลินอยส์ ถึงกระนั้นปัจจุบันประติมากรรมเนินดินเหล่านี้กลับพังทลายจนทบจะจำเค้าโครงเดิมไม่ได้ จนทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าจะพอมีหวังบ้างหรือไม่ที่ศิลปิน ภาครัฐและภาคเอกชนจะให้ความร่วมมือกันดำรงรักษาผลงานศิลปะร่วมกัน [7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไมเคิล ไฮเซอร์ http://nga.gov.au/internationalprints/tyler/DEFAUL... http://www.contemporaryartdaily.com/2010/11/michae... http://www.gagosian.com/artists/michael-heizer/ http://www.gagosian.com/artists/michael-heizer/sel... http://googlesightseeing.com/2013/10/michael-heize... http://www.pacegallery.com/newyork/exhibitions/117... http://pictify.com/21699/michael-heizer-double-neg... http://doublenegative.tarasen.net/double_negative.... http://doublenegative.tarasen.net/heizer.html http://doublenegative.tarasen.net/index.html/